วัดถ้ำผาแด่น 5.76

บ้านดงน้อย ตำบลดงมะไฟน้อย จังหวัดสกลนคร
Dong Mafai, 47000
Thailand
Add Review

About วัดถ้ำผาแด่น

Contact Details & Working Hours

Details

ประวัติ “วัดถ้ำผาแด่น”
วัดถ้ำผาแด่น เป็นวัดเก่าแก่อีกวัดหนึ่งในจังหวัดสกลนคร ซึ่งมีอายุและความเป็นมา เป็นร้อยปี เบื้องต้นนี้ จะขอเล่าประวัติวัดถ้ำผาแด่นตามที่ปรากฏในทะเบียนวัด ที่ได้จดทะเบียนขึ้นเป็นวัดถูกต้อง โดยมีชื่อตามที่ปรากฏในทะเบียนสำนักพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ซึ่งขณะนั้น เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2483 เจ้าคุณสรญาณ รองเจ้าคณะจังหวัดสกลนคร สังกัดมหานิกาย ในขณะนั้น ได้ไปจดทะเบียนเป็นวัดถูกต้อง เอาไว้ ดังมีรายละเอียดประวัติวัดถ้ำผาแด่น พอสังเขป โดยมีชื่อตามที่ปรากฏในทะเบียนสำนักพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ซึ่งขณะนั้น เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2483 ดังนี้ “ วัดถ้ำผาแด่น ตั้งอยู่ที่บ้านดงน้อย หมู่ที่ 9 ตำบลดงมะไฟ อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ 3,000 ไร่ อาณาเขต ทิศเหนือจดเขตภูเขา ทิศใต้จดเขตภูเขา ทิศตะวันออกจดภูเขา ทิศตะวันตกจดเขตภูเขา อาคารเสนาสนะประกอบด้วย ศาลาการเปรียญกว้าง 15 เมตร ยาว 15 เมตร สร้าง พ.ศ. 2532 กุฏิสงฆ์เป็นอาคารไม้ 5 หลัง อาคารมุงจาก 10 หลัง ศาลาบำเพ็ญกุศลสร้างด้วยไม้ 2 ปูชนียวัตถุมีพระพุทธรูปพระประธาน 4 องค์ หน้าตักกว้าง 50 นิ้ว สร้าง พ.ศ.2484 โดยพระสี และชาวบ้าน
วัดถ้ำผาแด่น ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ.2483 โดยมีพระมหาเส็ง นำชาวบ้านสร้างวัดขึ้น การบริหารและการปกครอง มีเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบนาม คือ รูปที่ 1 พระมหาเส็ง รูปที่ 2 พระกอง รูปที่ 3 พระสี รูปที่ 4 พระมหาทองสุก รูปที่ 5 พระผาย รูปที่ 6 พระอุดม รูปที่ 7 พระนำชัย มนฺตคุตฺโต พ.ศ.2532 – 2533 รูปที่ 8 พระวิเศษ เตชธโร ตั้งแต่ พ.ศ.2533 เป็นต้นมา” ข้างบนที่กล่าวมานี่เป็นประวัติวัดถ้ำผาแด่น ตามที่มีชื่อปรากฏในทะเบียนวัดของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ และก็เป็นประวัติวัดถ้ำผาแด่น อีกหน้าหนึ่งซึ่งรับการยืนยัน เรียบเรียง จากคณะโยมพ่อทองใบ อ่อนจงไกร และคุณโยมแสง อ่อนจงไกร ซึ่งเป็นลูก ได้เล่าว่า เมื่ออดีตใน วันหนึ่งของเดือน 6 ปีมะโรง พ.ศ.2483 ได้มีคณะพระอาจารย์สายปฏิบัติกัมมัฏฐาน คณะหนึ่งได้เดินจาริกธุดงค์ มาจากอาวาสวัดป่าสุทธาวาส บ้านดงบาก ในเมืองสกลนคร จำนวน 5 รูป และโยมพ่อขาวอีก 2 คน โดยทราบชื่อว่า พระผู้เป็นผู้นำคณะ องค์ที่ 1 คือ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต องค์ที่ 2 คือ พระอาจารย์ หลวงพ่อ มหาทองสุก สุจิตฺโต องค์ที่ 3 คือพระอาจารย์ หลวงพ่อ พรหม จิรปุณฺโณ องค์ที่ 4 พระอาจารย์ หลวงพ่อ วัน อุตฺตโม องค์ที่ 5 พระอาจารย์ หลวงพ่อ เส็ง ปุสฺโส โดยพระอาจารย์ทั้ง 5 ได้จาริกธุดงค์ มาปักกลด วิเวก บำเพ็ญสมณะธรรม วิปัสสนากัมมัฏฐาน ณ สถานที่บ้านดงน้อย บริเวณทางขึ้น เขาภูผาแด่น ในช่วงเวลา 5 โมงเย็น ซึ่งเป็นเวลาที่ชาวบ้านกลับจากหาของป่า ตามที่เคยออกหากินเป็นเช่นนี้ประจำ ของชาวบ้านดงน้อย จึงได้มาพบเห็นพระอาจารย์ทั้ง 5 ในสถานที่ดังกล่าว จึงได้นำเรื่องดังกล่าว ที่ได้พบเห็น ซึ่งเป็นเหตุการณ์ ที่ไม่ได้พบเห็นบ่อย ๆ นัก ที่จะได้พบพระธุดงค์ ดังนั้นชาวบ้านจึงได้นำเรื่องดังกล่าวไปบอกผู้นำหมู่บ้าน ซึ่งในขณะนั้น คือ คุณโยมพ่อ ทองใบ อ่อนจงไกร ให้ได้ทราบความเป็นมาที่ได้พบเห็น ฝ่ายคุณพ่อทองใบ อ่อนจงไกร เมื่อได้รับแจ้งเรื่องดังกล่าวจากลูกบ้าน จึงไม่รอช้า ได้ประกาศเชิญชวนเพื่อนบ้าน ลูกหลานได้รับทราบโดยทั่วกัน เมื่อได้เวลาอันสมควรแล้ว จึงได้พาคณะลูกบ้านเดินทางไปกราบไหว้ และได้เรียนถามถึงความประสงค์และความจำเป็นของพระอาจารย์ทั้ง 5 คุณพ่อทองใบ จึงได้กราบเรียนถึงความประสงค์ของพระอาจารย์ทั้ง 5 ว่า “มีความประสงค์สิ่งใดที่จะให้พวกข้าน้อยทราบด้วย และมีสิ่งประการใดในที่จะให้พวกข้าน้อยช่วยได้บ้าง ขอให้บอกให้ทราบด้วย” พระอาจารย์ทั้ง 5 เทศนาโปรดญาติโยม
เมื่อคณะพระอาจารย์ทั้ง 5 ได้เห็นชาวบ้านดงน้อย ออกมาต้อนรับและสอบถามถึงความประสงค์ และได้แจ้งว่ามีความยินดีจะช่วยเหลือ พระอาจารย์ทั้ง 5 โดยพระอาจารย์ มหาทองสุก สุจิตฺโต ได้ไปตอบว่า “ คณะพระอาจารย์ทั้ง 5 รูปที่ได้จาริกธุดงค์มาที่นี่ มีความประสงค์ก็เพื่อที่จะถือธุดงค์ นั่งสมาธิ วิปัสสนากัมมัฏฐาน วิเวก บำเพ็ญสมณะธรรม ที่บนถ้ำผาแด่นแห่งนี้ หากมีความเหมาะสม สับปายะดี อาจจะมาอยู่จำพรรษาภาวนาธรรม ที่ถ้ำผาแด่นแห่งนี้ สักหนึ่งถึงสองพรรษา จึงจะลงไปจากถ้ำผาแด่นนี้ ขอแต่คณะญาติโยมจะมีความเห็นเป็นอย่างไร เพียงแต่ว่าคณะพระอาจารย์ ที่มาในวันนี้ ยังไม่มีข้อมูล เกี่ยวกับสถานที่ถ้ำผาแด่นแห่งนี้ ว่าเป็นมาอย่างไรยังไม่ทราบ จึงอยากจะขอความช่วยเหลือ จากคุณโยมทั้งหลาย ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ถ้ำผาแด่นแห่งนี้ พอเป็นแนวทางได้บ้าง ในบางสิ่งบางอย่าง พอที่จะเป็นแนวทางบางกรณีได้บ้าง อาตมาคิดว่าจะเดินทางไปให้ถึงวันนี้ พอที่จะมีเวลาพอไหมก่อนมืด หรือคุณโยมทั้งหลาย มีความคิดเห็นเป็นประการใด ขอให้เล่าสู่ฟังบ้าง” เมื่อคุณพ่อทองใบ พร้อมญาติโยมชาวบ้านดงน้อย ได้รับฟัง ดังที่พระอาจารย์ หลวงพ่อ หมาทองสุก เทศนา ทางญาติโยม จึงได้แจ้งความเห็นไปว่า “หากคณะพระอาจารย์จะเดินทางไปถ้ำผาแด่น โดยไปให้ถึงในวันนี้ พวกข้าน้อยกลัวจะมีปัญหาหลายประการ คือ( 1) ระยะทางจากนี้ไปถึงถ้ำผาแด่น ระยะทางไกลมากถึง 7-8 กิโลเมตร (2) ระยะทางที่จะเดินไปนั้นกลัวจะเกิดอันตรายด้วยสัตว์ป่ามีพิษและสัตว์ร้ายที่ออกหากินช่วงพบค่ำพอดี (3) เมื่อเดินทางไปถึงแล้วจะเป็นเวลาที่ค่ำมืด อาจจะมีปัญหาเรื่องที่พักและที่หลับนอนอยู่บ้าง พวกข้าน้อยอยากจะขอนิมนต์คณะพระอาจารย์ได้ปักกลด จำวัด อยู่ข้างล่างนี้สักคืน พอตื่นรุ่งขึ้น ฉันจังหันเสร็จแล้ว แล้วค่อยเดินทางขึ้นถ้ำผาแด่นต่อไป คงจะดีกว่า” เมื่อพระอาจารย์ได้ฟังดังที่คุณพ่อทองใบ และคณะญาติโยมให้ความเห็นก็ตอบตกลง เดินทางขึ้นถ้ำผาแด่น
พอรุ่งขึ้น ในเช้าของวันใหม่ เมื่อคณะพระอาจารย์ทั้ง 5 ได้ฉันจังหันเสร็จเป็นที่เรียบร้อยแล้ว คณะญาติโยมชาวบ้านดงน้อย ทั้งหลาย จึงได้นำคณะพระอาจารย์ทั้ง 5 ออกเดินทางสู่ถ้ำผาแด่น ด้วยความสดชื่น ตื่นเต้นระทึกใจ ในสภาพที่เห็นความสมบูรณ์ของป่า ที่ได้เห็นฝูงสัตว์น้อยใหญ่ วิ่งไปมา หลายสายพันธุ์ชนิด ออกมาต้อนรับ พระผู้ทรงศีล อย่างที่ไม่เคยเห็น ไม่เคยปรากฏมาก่อน นับได้ว่าบนผืนป่าแห่งนี้ยังคงมีความอุดมสมบูรณ์เป็นยิ่งนัก เมื่อคณะพระอาจารย์และชาวบ้านดงน้อย ได้เดินทางมาถึงถ้ำผาแด่นแล้ว ก็ช่วยกันจัดแจง จัดหาสิ่งที่จำเป็นสำหรับพระอาจารย์ อย่างขมักขะเม้น และต่างก็พากันตื่นเต้นเป็นอย่างมากในแต่ละคน ในไม่ช้าก็สมควรแก่เวลาใกล้พบค่ำ คณะชาวบ้านจึงได้กราบลาพระอาจารย์ทั้ง 5 กลับสู่หมู่บ้านดงน้อย สำหรับผู้ไม่มีภารกิจอะไร ก็อยู่จำศีลภาวนารับใช้ อยู่กับคณะพระอาจารย์จนถึงวันรุ่งขึ้น เพื่อทำธุรกิจ จัดหาสิ่งของเครื่องใช้ที่ยังขาด ไม่เพียงพออยู่กับพระอาจารย์จนถึงค่ำวันใหม่ต่อไป เพราะนับเป็นโอกาสอันดี ที่หาได้อยากมากที่จะได้สร้างบารมีกับพระธุดงค์ ที่น่าเคารพศรัทธาบิณฑปาติกัง ธุดงควัตร
เมื่อพระอาจารย์ทั้ง 5 ซึ่งท่านเป็นพระ สายพระป่าถือภิกขาจารวัตร ออกเที่ยวบิณฑบาตเพื่อคบฉันเป็นวัตร อยู่เป็นประจำ จะด้วยสาเหตุดังกล่าวนี้หรือไม่ จึงทำให้พระอาจารย์ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ซึ่งท่านมีอายุสังสารมากถึง 70 ปีแล้ว จึงทำให้ท่านมีความเพียรในทุกกรณี ในทุกที่ที่ได้จาริก ภิกขาจารวัตร เที่ยวรับบิณฑบาตเป็นประจำ ซึ่งเป็นระยะทางที่ไกล ต้องอกเดินทางวันละหลาย ๆ กิโลเมตร และต้องขึ้น – ลง จากภูเขาที่สูงชัน อยู่ทุกเช้าเป็นประจำ อยู่มาวันหนึ่งคณะลูกศิษย์ที่ติดตามหลวงปู่มั่น ฯ ได้ปรึกษาหาแนวทางแก้ไข ในเรื่องดังกล่าว จึงได้มีข้อตกลงร่วมกันว่า ให้ย้ายหอฉันที่ตั้งอยู่บนถ้ำผาแด่น เพราะลำบากต่อการขึ้น-ลง โดยให้ลงไปฉันที่บริเวณดานกกแต้ น่าจะเป็นทางออกที่จะแก้ไขได้บ้าง ดังนั้น จึงได้ตกลงมาฉันที่หอฉันที่บนหินดานกกแต้ ในวันต่อมา และเป็นการสะดวกในการเดินจงกลม นั่งสมาธิ วิปัสสนากัมมัฏฐาน สำหรับหลวงปู่มั่น ได้เป็นอย่างดี ตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา
เกิดปรากฏการณ์น่าอัศจรรย์ อภินิหาร ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6
ได้เกิดอภินิหารเกิดขึ้นในวันเพ็ญเดือน 6 ขึ้น 15 ค่ำ เป็นเหตุการณ์ที่ไม่ได้คาดฝัน หลังจากที่คณะลูกศิษย์ ได้พากันทยอยกลับสู่ที่พักของแต่ละรูป หลังจากได้มาอุปถาก ปรนนิบัติครูบาอาจารย์ ตามที่เคยปฏิบัติเป็นประจำทุกวันได้ลาหลวงปู่มั่น กลับสู่เสนาสนะของแต่ละท่าน หลังจากที่ได้อยู่ปรนนิบัติครูบาอาจารย์ และได้รับฟังเทศน์ ฟังธรรมคำสอนหลวงปู่มั่น ซึ่งเป็นวัตรปฏิบัติประจำวันมาโดยตลอด โดยเฉพาะวันพระ วันขึ้น 15 ค่ำ หลังจากทุกรูปกลับเข้าสู่ที่ปักกลดแล้ว ได้มีสิ่งที่ไม่ได้คาดคิดไว้คือ “ มีเจ้าเสือโคร่งลายพาดกอนตัวหนึ่ง ได้มาปรากฏตัว นอนหมอบอยู่ข้างหน้าห่างออกไปประมาณ 7 วา โดยที่เขาไม่มีกิริยาอาการใด ๆ ซึ่งขณะนั้นเอง หลวงปู่มั่น กำลังนั่งสมาธิภาวนาอยู่ เป็นเวลาเที่ยงคืนเศษ หลวงปู่มั่นได้แผ่เมตตา ส่งกระแสจิตเทศนาสั่งสอนเสือตัวนั้นว่า “ที่เจ้าเข้ามากราบเรา เจ้าคงมีความทุกข์ใช่ไหม เราเป็นสัตว์โลกด้วยกัน ต่างก็มุ่งทำความดี ไม่มีจิตเบียดเบียนซึ่งกันและกัน เจ้าจงไปตามทางของเจ้าเถิด หากเจ้าเกิดชาติหน้าหรือชาติไหน ขอเจ้าจงเกิดในหมู่ของเทวดา อย่าได้มาเป็นสัตว์เดรัจฉานเลย” เมื่อหลวงปู่มั่นลืมตาจากการแผ่เมตตา ให้เสือโคร่งแล้ว เจ้าเสือโคร่งตัวนั้นก็เดินจากหลวงปู่มั่นไป โดยไม่มีเหตุการณ์ใด ๆ
พอรุ่งเช้า ในช่วงที่อยู่หอฉัน หลังจากฉันภัตตาหารเสร็จหลวงปู่มั่น จึงได้ปรารภกล่าวถึง เรื่องราวที่ได้เกิดขึ้นเมื่อคืนที่ผ่านมา ให้คณะได้ฟัง โดยมีตอนหนึ่งหลวงปู่เล่าต่อว่า "เมื่อคืนนี้ ได้มีเสือโคร่งมาเยี่ยมเรา และนอนเฝ้าเป็นเพื่อนเรา แต่เขาก็ไม่ได้แสดงกิริยาใด ๆ สักพักก็เดินจากไป คิดว่าเสือตังนั้น คงจะมาบอกอะไร หรือมาลาเราสักอย่างแหละ”
เมื่อก่อนนั้น เสือตัวนี้เป็นเสือที่ดุร้ายมาก เคยกัดกินวัวของชาวบ้านมาหลายตัวแล้ว โดยเฉพาะที่ภูทับควายบ้านหนองไผ่ และภูทับควายบ้านนากับแก้ โดยไม่เลือกแม้กระทั้งหมาชาวบ้านยังถูกเสือกัดกินเลย แต่ความจริงก็คือความจริง เมื่อบาปมีจริง กรรมได้สนองกรรม ในเวลาต่อมาไม่กี่วัน เสือโคร่งตัวนี้ก็ถูกนายพรานบ้านนากับแก้ คือ “นายพรานเขียน,นายพรานจารใด,นายพรานเพียร” ได้ขึ้นห้างดักยิงที่ ภูคำบง ยิงตาย และได้นำไปขายในตลาดราคาตัวละ 300 บาท เงิน 300 ถือว่ามีค่ามากในสมัยนั้น
จากนั้นก็ไม่มีเสือมากินวัวชาวบ้านอีกเลย แสดงว่าเสือตัวนั้นรู้ว่าตัวเองจะต้องตาย จึงมากราบขอพร และฟังเทศน์จากหลวงปู่มั่น ก่อนตัวเองจะตาย และเรื่องที่ยิงเสือตายไม่ใช่เรื่องนิยาย แต่เป็นเรื่องจริง สามารถตรวจสอบจากชาวบ้านได้

Map of วัดถ้ำผาแด่น

Updates from วัดถ้ำผาแด่น

Reviews of วัดถ้ำผาแด่น

   Loading comments-box...