วัดนวลจันทร์ 5.05

วัดนวลจันทร์(บางขวด) 43 ถ.นวลจันทร์ แขวงนวลจันทร์ เขตบึงกุ่ม
Bangkok, 10230
Thailand

About วัดนวลจันทร์

วัดนวลจันทร์ วัดนวลจันทร์ is one of the popular place listed under Buddhist Temple in Bangkok , Religious Organization in Bangkok ,

Contact Details & Working Hours

Details

สถานที่ตั้งของวัด
วัดนวลจันทร์(บางขวด) เป็นวัดราษฎร์ ตั้งอยู่เลขที่ ๔๓ หมู่ ๑๒ แขวงคลองกุ่ม เขตบางกะปิ ต่อมาเปลี่ยนเป็นเขตบึงกุ่ม กรุงเทพมหานคร สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีที่ดินจำนวน ๒๖ ไร่ ๒ งาน ๘๕ ตารางวา มีอาณาเขตทิศเหนือยาว ๒๑๗ เมตร ติดต่อกับศูนย์สาธารณสุข ๑๕ ทับเจริญ ทิศใต้ยาว ๑๙๕ เมตร ติดกับที่ดินเอกชน ทิศตะวันออกยาว ๑๕๘ เมตร ติดต่อกับคลองบางขวด ทิศตะวันตกยาว ๒๕๗ เมตร ติดกับถนนนวลจันทร์

พื้นที่ตั้งวัดเป็นที่ราบลุ่มเดิมมีที่ธรณีสงฆ์ ๑ แปลง ๕ ไร่ ๒ งาน เป็นที่ตั้ง โรงเรียนวัดนวลจันทร์ และปัจจุบันมีผู้อุปถัมภ์คือลูกๆของคุณโยม สีนางจุก อ้นสุวรรณ ได้มอบที่ดินให้สร้างโรงเรียนเด็กเล็กก่อนเกณฑ์อีก ๑ ไร่ รวมกับที่ธรณีสงฆ์เดิม ๒ แปลง รวมของใหม่อีก ๑ ไร่ เป็น ๒๗ ไร่ ๒ งาน ๘๕ ตารางวา

วัดนวลจันทร์ เดิมชื่อว่า วัดสองพี่น้อง เป็นวัดเก่าตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของคลองบางขวดในปัจจุบันเป็นที่ตั้งโรงเรียนประถมศึกษา วัดนวลจันทร์ เดิมในสมัยนั้นชาวบ้านเรียกว่า วัดสองพี่น้อง เพราะมีสองพี่น้องและตระกูล ทับเจริญ พึ่งโพธิ์ อ้นสุวรรณ สร้อย-เงิน สุวรรณน้อย ชื่นกมล * ได้บริจาคที่ดินบริจาคที่ดินให้ ๖ ไร่ จัดสร้างวัดเมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๓๘๙ ต่อมาภายหลังเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๒๓ ได้ย้ายข้ามคลองมาสร้างหรือมาตั้งวัดในปัจุจบันซึ่งขุนจงใจระงับพาล (นายจันทร์) และนางจงใจระงับพาล (นางนวล) เป็นผู้มอบที่ดินให้ตั้งวัด และต่อมาจึงใช้ชื่อว่า “วัดนวลจันทร์” (บางขวด) พร้อมกับสร้างพระอุโบสถ และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๑๐ สิงหาคม ๒๔๕๓ เนื้อที่กว้าง ๑๓ เมตร ยาว ๒๒.๘๐ เมตร ประกอบพิธีผูกพัทธสีมา เมื่อเดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๕๔

วัดนี้แต่เดิมมีกุฏิอยู่ไม่กี่หลัง หอสวดมนต์ หอฉันท์ หอระฆัง และศาลากาลเปรียญสร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๖ เมรุเผาศพเป็นแบบเชิงตะกอนในสมัยนั้นและมีการบรูณะปฎิสังขรณ์ สร้างเสนาสณะต่างๆ เพิ่มเติมกันเรื่อยมา ตั้งแต่เจ้าอาวาสที่จำความได้รูปแรกคือ พระอธิการยัง ปกครองวัดตั้งแต่ พ.ศ.๒๓๘๙ – ๒๓๙๙ รูปที่ ๒ พระอธิการท้วมปกครองตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๕๓ รูปที่ ๓ ไม่มีบันทึก พ.ศ. ไว้ รูปที่ ๔ พระปลัดหุ่น สุวรรณฺณโร ปกครองตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๗๓-๒๕๑๑ รูปที่ ๕ พระครูประสิทธิ์นวกรรมปกครองปี พ.ศ. ๒๕๑๔-๒๕๔๘ และรูปที่ ๖ คือ ผู้เขียนบันทึก พระครูวินัยธรประเสียร อโนมคุโณ ปกครองปี พ.ศ. ๒๕๔๙

วัดนวลจันทร์ ได้ทำการบูรณะกันเรื่อยมา ตั้งแต่เจ้าอาวาสรูปแรก และมาเป็นที่รู้จักกันดี ในปีที่พระปลัดหุ่น สุวณฺณโร หรือ หลวงปู่หุ่น ของเราชาวบางขวด และมีการพัฒนา จนรุ่งเรืองในยุคของท่านพระครูประสิทธิ์นวกรรม มีเมรุเผาศพใหม่ปี พ.ศ. ๒๕๑๑ และศาลาปริยัติธรรมปี พ.ศ. ๒๕๑๕ กุฏิทรงไทยประยุกต์ปี พ.ศ. ๒๕๒๕-๒๕๔๗ จำนวนกุฏิสงฆ์ ๑๕ หลังปีพ.ศ. ๒๕๓๗ วางศิลาฤกษ์วิหารหลวงพ่อชินราช (ต่อมาเป็นพระอุโบสถ)และสร้างศาลาธรรมสังเวส คือศาลาสวดพระอภิธรรมอีก ๗หลังร่วมกับของที่มีอยู่แล้วอีก ๓ เป็น๑๐หลัง ปี พ.ศ.๒๕๓๘ ได้สร้างศาลาโรงครัวให้โยมทำบุญจัดงานพิธีกรรมต่างๆ ปีพ.ศ๒๕๔๐ได้สร้างวิหารหลวงพ่อโสธรและเป็นที่ประดิษฐานรูปเหมือนบูรพาจารย์ ให้โยมกราบไหว้ปิดทอง และถวายสังฆทาน ปี พ.ศ. ๒๕๔๘ ท่านได้วางศิลาฤกษ์ศาลาการเปรียญหลังใหม่ ๒ ชั้น แต่ท่านได้เกิดการเจ็บป่วย ต้องเข้าโรงพยาบาล ในพรรษาพอดีและในกลางปี พ.ศ.๒๕๔๘ ท่านอาจารย์ก็ออกมาจากโรงพยาบาลได้ราวเดือนเศษ ท่านก็มรณะภาพลงและจากพวกเราไป เพราะฉนั้นการก่อสร้างต่างๆ ก็ตกมาถึงตัวผู้เขียน คือ เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน การก่อสร้างถาวรวัตถุในทุกวันนี้ ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย แต่ทุกอย่างก็แล้วเสร็จด้วยญาติโยมทั้งใกล้และไกลวัด ร่วมมือกัน ไม่ว่าจะเป็นศาลาการเปรียญคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี พ.ศ. ๒๕๕๑ และวิหารหลวงพ่อชินราชหลังใหญ่ ทางอาตมา ก็ได้ปรึกษาญาติโยม และสมเด็จพระมหาธีราจารย์ เจ้าคณะใหญ่หนกลาง ท่านมาที่วัดพอดีผู้เขียนถามท่าน ว่าเป็นพระอุโบสถได้ไหม “ท่านตอบว่าได้ซิและรักษาพระอุโบสถเก่าไว้ให้ดีนะอย่ารื้อ” และสุดท้ายก็แล้วเสร็จ มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า พระราชทานวิสุงคามสีมา แก่วัดนวลจันทร์ เมื่อวันที่ ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๐ กว้าง ๓๐เมตร ยาว ๕๓ เมตร ในปีมหามงคลอายุครบ ๘๐ พรรษา ของในหลวง ในปัจจุบันผู้เขียนได้จัดให้มีการเรียน การสอนแผนกธรรม - บาลี ขึ้นมา คือปี ๒๕๕๑ เป็นปีแรก และครั้งแรกของวัดนวลจันทร์ (บางขวด) เพื่อให้พระภิกษุและสามเณร ได้ศึกษาเพื่อสืบสานพระพุทธศาสนา ให้วัดและพระภิกษุสามเณรมีความรู้ความเจริญไปพร้อมๆ กัน

ในการเรียบเรียงผู้เขียนได้ทำการค้นคว้า ในกรมพุทธศาสนา และจากการบันทึกของทางวัด และผู้ใหญ่เก็บไว้ โดยส่วนตัวของผู้เขียนที่อยู่วัดมาตั้งแต่เด็กๆ และการบอกเล่าของพระอาจารย์บันทึกไว้ ในตัวของผู้เขียนได้บันทึกไว้ เพื่อตอบแทนและรำลึกถึงคุณของวัดและพระอาจารย์อดีตเจ้าอาวาสทุกรูป จะเป็นพระคุณอย่างสูง ด้วยข้อมูลที่พอจะค้นคว้ามาได้จากผู้รู้บางท่านที่อยู่ในเหตุการณ์และยังมีชีวิตอยู่ บางท่านก็เสียชีวิตไปแล้ว ถ้าข้อมูลที่ได้แสดงอยู่ในหน้านี้ไม่ถูกต้อง ทางผู้จัดทำต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย และหากมีท่านผู้ใดที่พอมีข้อมูลที่เป็นประโยชน์แก่วัดนวลจันทร์ ก็สามารถติชมมายังเว็บไซต์ของวัดนี้ได้ *


เจริญพร
อโนมคุโณ ภิกฺขุ.
(ลูกแม่เฉลิม)

Map of วัดนวลจันทร์

Updates from วัดนวลจันทร์

Reviews of วัดนวลจันทร์

   Loading comments-box...

OTHER PLACES NEAR วัดนวลจันทร์